การเคลื่อนที่แนวตรง 

En-21 เด็กคนหนึ่งโยนลูกบอลลูกแรกขึ้นไปในแนวดิ่งด้วยความเร็วต้น \(v\) เมื่อลูกบอลขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของมัน เขาก็โยนลูกบอลลูกที่สองตามชึ้นไปด้วยความเร็วต้นเท่ากัน จงหาว่าลูกบอลทั้งสองจะชนกัน ณ ความสูงเท่าไรจากจุดโยน กำหนดให้อัตราเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงเป็น \(g\)
เฉลย 1. ระยะสูงสุดหาจากลูกบอลลูกแรกขึ้นไปถึงจุดสูงสุด \begin{aligned} v^2&=u^2+2as\\ 0&=u^2+2(-g)s\\ s&=\dfrac{u^2}{2g} \end{aligned}
2. ระยะทางลูกแรกตกลงมาใช้เวลา \(t\) วินาที \begin{aligned} s_1&=ut+\dfrac{1}{2}at^2\\ s_1&=0+\dfrac{1}{2}(g)t^2\\ s_1&=\dfrac{1}{2}gt^2 \end{aligned}
3. โยนลูกที่สองตามชึ้นไปด้วยความเร็วต้นเท่ากัน ไปชนกับลูกแรกที่ตกลงมาพอดีใช้เวลา \(t\) วินาทีเท่ากัน \begin{aligned} s_2&=ut+\dfrac{1}{2}at^2\\ s_2&=ut+\dfrac{1}{2}(-g)t^2\\ s_2&=ut-\dfrac{1}{2}gt^2 \end{aligned}
4. ระยะทางลูกแรกรวมกับลูกที่สองจะเท่ากับระยะทางที่ลูกแรกขึ้นได้สูงสุด \begin{aligned} s_1+s_2&=s\\ \dfrac{1}{2}gt^2+ut-\dfrac{1}{2}gt^2&=\dfrac{u^2}{2g}\\ ut&=\dfrac{u^2}{2g}\\ t&=\dfrac{u}{2g} \end{aligned} แทนเวลาในสมการลูกที่สองเคลื่อนที่ขึ้นได้ระยะทาง \begin{aligned} s_2&=ut-\dfrac{1}{2}gt^2\\ s_2&=u(\dfrac{u}{2g})-\dfrac{1}{2}g(\dfrac{u}{2g})^2\\ s_2&=\dfrac{u^2}{2g}-\dfrac{u^2}{8g}\\ s_2&=\dfrac{3u^2}{8g} \end{aligned} โจทย์กำหนดให้ความเร็วต้นเท่ากับ \(v\)
ดังนั้น ลูกที่สองจะชนกัน ณ ความสูง \(\dfrac{3v^2}{8g}\) เมตรจากจุดโยน
En-22 กราฟนี้เป็นกราฟความเร็วและเวลาของวัตถุที่ถูกโยนขึ้นไปตรง ๆ ในแนวดิ่งแล้วตกลงบนพื้นดิน วัตถุจะขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดเป็นระยะเท่าใด
    ก. \(11.25\) เมตร
    ข. \(10.0\) เมตร
    ค. \(4.12\) เมตร
    ง. \(1.5\) เมตร
เฉลย ที่ตำแหน่งสูงสุดความเร็วปลายเท่ากับศูนย์ \((v=0)\) ระยะทางจะเท่ากับ พ.ท.ใต้กราฟ \(v-t\) ในช่วงเวลา \(0-1.5\) วินาที \begin{aligned} s&=\dfrac{1}{2}\times 1.5 \times 15 \\ s&=\dfrac{22.5}{2}\\ s&=11.25 \end{aligned} ดังนั้น วัตถุจะขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดเป็นระยะเท่า \(11.25\) เมตร ตอบข้อ ก.
En-24 วัตถุอันหนึ่งเคลื่อนที่โดยมีความเร็วเปลี่ยนแปลงกับเวลาเป็นแบบ sine curve (ดังรูป) ซึ่งมีค่าแอมพลิจูดเป็น 0.3 เมตร/วินาที จงหาระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ระหว่างจุด \(A\) กับ \(B\)
เฉลย พื้นที่สันคลื่นเท่ากับพื้นที่ท้องคลื่น ทำให้เกิดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพอดี จะได้ระยะทางเท่ากับ พ.ท.ใต้กราฟ \(v-t\) ในช่วงเวลา \(1-4\) วินาที \begin{aligned} s&=(4-1)\times 1 \\ s&=3\times 1\\ s&=3 \end{aligned} ดังนั้น ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ระหว่างจุด \(A\) กับ \(B\) เท่ากับ \(3\) เมตร
En-25 จากการทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุ พบว่าความเร่งของวัตถุมีค่าแปรไปตามเวลาดังลักษณะที่แสดงไว้ในรูปกราฟ ถ้าหากวัตถุนี้เริ่มต้นเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเท่ากับศูนย์ ไปทางขวามือแสดงว่าตลอดระยะเวลา 20 วินาที การขจัดของวัตถุนี้มีค่าเท่าใด (ค่าบวกในกราฟสำหรับทิศไปทางขวามือ)
    ก. \(100\) เมตรไปทางขวามือ
    ข. \(125\) เมตรไปทางซ้ายมือ
    ค. \(75\) เมตรไปทางขวามือ
    ง. \(75\) เมตรไปทางซ้ายมือ
    จ. \(125\) เมตรไปทางขวามือ
เฉลย 1. ช่วงเวลา \(0-5\) วินาที ความเร่งเท่ากับ \(2 \ m/s^2\) หาระยะทางได้ \begin{aligned} s&=ut+\dfrac{1}{2}at^2\\ s&=0+\dfrac{1}{2}(2)(5)^2\\ s&=25 \end{aligned} 2. ช่วงเวลา \(5-10\) วินาที ความเร่งเท่ากับ \(0 \ m/s^2\) แสดงว่าความเร็วคงที่ตลอดช่วงเวลา \(5-10\) วินาที มีค่าเท่ากับความเร็วเมื่อสิ้นเวลา \(5\) วินาที \begin{aligned} v&=u+at\\ v&=0+2\times 5\\ v&=10 \end{aligned} จะได้ระยะทางช่วงความเร็วคงที่ช่วงเวลา \(5-10\) วินาที เท่ากับ \begin{aligned} s&=vt\\ s&=10\times 5\\ s&=50 \end{aligned} 3. ช่วงเวลา \(15-20\) วินาที ความเร่งเท่ากับ \(-2 \ m/s^2\) หาระยะทางได้ \begin{aligned} s&=ut+\dfrac{1}{2}at^2\\ s&=(10)(5)+\dfrac{1}{2}(-2)(5)^2\\ s&=50-25\\ s&=25 \end{aligned} ดังนั้น การขจัดของวัตถุมีค่า \(25+50+25=100 \) เมตร ไปทางขวามือ
ตอบข้อ ก.
En-26 ในการปรับให้น้ำหยดจากปลายหลอดบิวเร็ตต์ชนิดที่เมื่อหยดหนึ่งถึงพื้น อีกหยดหนึ่งถัดไปก็หยดออกทันที เมื่อปลายบิวเล็ตต์สูง \((h)\ 50\) เซนติเมตร หยดน้ำควรหยดกี่หยดต่อ \(10\) วินาที \((g=10\ m/s^2)\)
  ก. \(6\)  ข. \(20\)  ค. \(31\)  ง. \(49\)
เฉลย หาเวลาหนึ่งหยดถึงพื้น \begin{aligned} s&=ut+\dfrac{1}{2}at^2\\ 0.5&=0+\dfrac{1}{2}(10)t^2\\ t^2&=\dfrac{1}{10}\\ t&=\sqrt{\dfrac{1}{10}} \end{aligned} ในเวลา \(10\) วินาที จะมีน้ำหยดได้ \begin{aligned} n&=\dfrac{10}{t}\\ n&=10\sqrt{10} \\ n&=10\times 3.16\\ n&=31.6 \end{aligned} ดังนั้น จะมีน้ำ \(31\) หยดต่อ \(10\) วินาที
ตอบข้อ ค.
En-28 ปล่อยลูกบอลลูนที่มีถุงทรายสองถุงผูกติดกันอยู่ ลอยขึ้นจากพื้นดินในแนวดิ่ง ปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไป \(8\) วินาที ถุงทรายใบหนึ่งหลุดตกสู่พื้นดิน ถ้าบอลลูนลอยสูงขึ้นด้วยอัตราเปลี่ยนแปลงดังกราฟ (กำหนดค่า \(g=10\ \text{เมตร/วินาที}^2)\)
ถามว่า ขณะถุงทรายตกถึงพื้นดิน บอลลูนกำลังลอยขึ้นด้วยอัตราเร็วกี่เมตรต่อวินาที
  ก. \(20\)  ข. \(25\)  ค. \(30\)  ง. \(35\)
เฉลย 1. บอลลลูนอยู่สูงจากพื้นดินเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ ในช่วง \(8\) วินาทีแรกก่อนถุงทรายหลุด \begin{aligned} s&=\dfrac{1}{2}\times (8)(10)\\ s&=40 \ \text{เมตร} \end{aligned} 2. จากกราฟถุงทรายหลุดจากบอลลูนเมื่อเวลาผ่านไป \(8\) วินาที จะเคลื่อนที่ขึ้นด้้วยความเร็วต้นเท่ากับ \(10\) เมตร/วินาที แล้วจึงตกลงมาสู่พื้นดินที่การกระจัด \(-40\) เมตร/วินาที หาเวลาถุงทรายหลุดจากบอลลูนตกถึงพื้นดิน \begin{aligned} s&=ut+\dfrac{1}{2}at^2\\ -40&=10t+\dfrac{1}{2}(-10)t^2\\ -40&=10t-5t^2\\ -8&=2t-t^s\\ t^2-2t-8&=0\\ (t-4)(t+2)&=0\\ t&=4,\ -2\\ t&=4 \end{aligned} 3. ขณะถุงทรายตกถึงพื้นดิน บอลลูนใช้เวลาลอยอยู่ในอากาศ \(8+4=12\) วินาที
ดังนั้น อ่านค่าอัตราเร็วของบอลลูนจากกราฟได้เท่ากับ \(20\) วินาที ตอบข้อ ก.
En-29 ยิงกระสุนดิ่งขึ้นฟ้า \(3\) ลูกติดต่อกัน จากตำแหน่งเดียวกัน ด้วยอัตราเร็วต้น \(10\) เมตร/วินาที เท่ากัน และเว้นช่วงเวลาระหว่างลูกที่ถัดกัน \(1\) วินาที อยากทราบว่ากระสุนลูกที่ \(2\) และ \(3\) จะสวนกันที่ระยะสูงสุดจากฐานยิงกี่เมตร
  ก. \(1.25\) เมตร  ข. \(3.75\) เมตร  ค. \(5.00\) เมตร  ง. \(6.50\) เมตร
เฉลย พิจารณาเฉพาะกระสุนลูกที่ \(2 \ \text{และ}\ 3\) ให้ \(t\) เป็นเวลากระสุนลูกที่ \(3\) ถูกยิงขึ้นไป ดังนั้นกระสุนลูกที่ \(2\) ใช้เวลาตกลงมาสวนกันพอดีที่เวลา \((t+1)\ \text{วินาที}\) การกระจัดกระสุนลูกที่ \(2\) เท่ากับกระสุนลูกที่ \(3\) เป็นบวกทั้งคู่เนื่องจากถูกยิงขึ้นที่ตำแหน่งเดียวกัน \begin{aligned} h_2&=ut_2+\dfrac{1}{2}at_2^2\\ h_2&=10(t+1)+\dfrac{1}{2}(-10)(t+1)^2\\ h_2&=10t+10-5(t^2+2t+1)\\ h_2&=10t+10-5t^2-10t-5\\ h_2&=5-5t^2\\ h_3&=ut_3+\dfrac{1}{2}at_3^2\\ h_3&=10t+\dfrac{1}{2}(-10)t^2\\ h_3&=10t-5t^2\\ h_2&=h_3 \\ 5-5t^2&=10t-5t^2\\ t&=\dfrac{5}{10}\\ t&=0.5 \ \text{วินาที} \end{aligned} เลือกแทนใน \(h_3\) ได้ \begin{aligned} h_3&=ut_3+\dfrac{1}{2}at_3^2\\ h_3&=(10)(0.5)+\dfrac{1}{2}(-10)(0.25)\\ h_3&=5-1.25\\ h_3&=3.75 \ \text{เมตร} \end{aligned} ดังนั้น กระสุนลูกที่ \(2 \ \text{และ}\ 3\) จะสวนกันที่ระยะสูงสุดจากฐานยิง \(3.75\) เมตร
ตอบข้อ ข.
En-30
จากกราฟความเร็ว-เวลา ซึ่งแสดงการเดินทางในช่วง \(A,\ B,\ C\) และ \(D\) จงหาระยะทางที่เคลื่อนที่ไปได้ใน \(0.5\) ชั่วโมง
  1. \(18.5\) กิโลเมตร  2. \(19.5\) กิโลเมตร  3. \(20.0\) กิโลเมตร  4. \(40.0\) กิโลเมตร

คำถามต่อเนื่อง กราฟความเร็ว-เวลา จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยใน \(0.2\) ชั่วโมงแรก
เฉลย ระยะทางเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟความเร็ว-เวลา ในช่วง \(0-0.5\) ชั่วโมง \begin{aligned} s_A&=\dfrac{1}{2}(0.1)(50)\\ s_A&=2.5\\ s_B&=(0.3-0.1)(50)\\ s_B&=10\\ s_C&=\dfrac{1}{2}(10+50)(0.5-0.3)\\ s_C&=6\\ s&=s_A+s_B+s_C\\ s&=2.5+10+6\\ s&=18.5 \end{aligned} ดังนั้น ระยะทางที่เคลื่อนที่ไปได้ใน \(0.5\) ชั่วโมง เท่ากับ \(18.5\) ชั่วโมง ตอบข้อ 1.

เฉลยคำถามต่อเนื่อง อัตราเร็วเฉลี่ยเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงระยะทางในหนึ่งหน่วยเวลา \(0.2\) ชั่วโมง \begin{aligned} s&=\dfrac{1}{2}(0.2+0.1)(50)\\ s&=(0.3)(25)\\ s&=7.5\\ v_{av}&=\dfrac{s}{t}\\ v_{av}&=\dfrac{7.5}{0.2}\\ v_{av}&=37.5 \end{aligned} ดังนั้น อัตราเร็วเฉลี่ยใน \(0.2\) ชั่วโมงแรก เท่ากับ \(37.5\) กิโลเมตร/ชั่วโมง
En-31 วัตถุอันหนึ่งเคลื่อนที่จากนิ่งด้วยความเร่ง \(a\) ที่เวลา \(t\) ดังแสดงได้ดังรูป จงหาความเร็วของวัตถุที่เวลา \(5\) วินาที
  1. \(2\)  2. \(1\)  3. \(0\)  4. \(-1\)
เฉลย ความเร็วปลายช่วงแรก \(0-2\) วินาที \begin{aligned} v&=u+at\\ v&=0+(2)(2)\\ v&=4 \ \text{เมตร/วินาที} \end{aligned} และเป็นความเร็วต้นช่วงเวลา \(2-5\) วินาที หาความเร็วปลายได้ \begin{aligned} v&=u+at\\ v&=4+(-1)(3)\\ v&=4-3\\ v&=1 \ \text{เมตร/วินาที} \end{aligned} ดังนั้น ความเร็วของวัตถุที่เวลา \(5\) วินาที เท่ากับ \(1\) เมตร/วินาที ตอบข้อ \(2.\)

ใช้กราฟ ความเร็วเมื่อสิ้นวินาทีที่ \(n\) เท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ \(a-t\)
\begin{aligned} A_1&=(2)(2)\\ A_1&=4\\ A_2&=(-1)(3)\\ A_2&=-3 \end{aligned} \(1.\) วัตถุเคลื่อนที่จากนิ่ง คู่ลำดับ \((v,t)\) เริ่มต้น เท่ากับ \((0,0)\)
\(2.\) สิ้นวินาทีที่ \(2\) วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับ \(v=A_1+0=4\) เมตร/วินาที \((4,2)\)
\(3.\) สิ้นวินาทีที่ \(5\) วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับ \(v=A_1+A_2=4-3=1\) เมตร/วินาที \((1,5)\)
ดังนั้น ความเร็วของวัตถุที่เวลา \(5\) วินาที เท่ากับ \(1\) เมตร/วินาที
En-32 รถไฟ \(2\) ขบวน วิ่งเข้าหากันโดยวิ่งในรางเดียวกัน รถขบวนที่ \(1\) วิ่งด้วความเร็ว \(10\) เมตร/วินาที ส่วนขบวนที่ \(2\) วิ่งด้วความเร็ว \(20\) เมตร/วินาที ขณะที่อยู่ห่างกัน \(325\) เมตร/วินาที รถไฟทั้ง \(2\) ขบวนต่างเบรครถ และหยุดได้พอดีกันโดยอยู่ห่างกัน \(25\) เมตร/วินาที เวลาที่รถทั้งสองใช้เป็นเท่าใด
  1. \(10\) เมตร/วินาที  2. \(15\) เมตร/วินาที  3. \(20\) เมตร/วินาที  4. \(25\) เมตร/วินาที
เฉลย รถสองขบวนใช้เวลาหยุดเท่ากัน
1. รถคันแรกเบรคได้ระยะทาง \begin{aligned} s_1&=\dfrac{u+v}{2}t\\ s_1&=\dfrac{0+10}{2}t\\ s_1&=5t \end{aligned} 2. รถคันที่สองเบรคได้ระยะทาง \begin{aligned} s_2&=\dfrac{u+v}{2}t\\ s_2&=\dfrac{0+20}{2}t\\ s_2&=10t \end{aligned} 3. ผลรวมของระยะเบรกทั้งหมดกับระยะห่างเท่ากับระยะห่างระหว่างรถไฟสองขบวนตอนเริ่มต้นเคลื่อนที่ \begin{aligned} s_1+s_2+25&=325\\ 5t+10t&=300\\ t&=\dfrac{300}{15}\\ t&=20\\ \end{aligned} ดังนั้น เวลาที่รถทั้งสองใช้เป็น \(20\) วินาที ตอบข้อ 3.