3 วิธีง่าย ๆ เรียนฟิสิกส์อย่างไร ให้สอบติด
หน่วย แอมแปร์ (A), เคลวิน (K), แคนเดลา (cd), โมล (mol), กิโลกรัม (kg), เวลา (s), เมตร (m) เป็นหน่วยมูลฐานทั้งหมด
ค่าประจำตัวของหน่วยวัดที่ใช้บ่อย คือ \(M=10^6,\ \ \) \(k=10^3, \ \ \) \(c=10^{-2},\ \ \) \(m=10^{-3}, \ \ \) \(\mu=10^{-6}, \ \ \) \(n=10^{-9} \ \ \) และ \( \ p=10^{-12} \ \ \) หลัการแปลงหน่วย คือ นำค่าประจำตัวของหน่วยเก่า หารด้วย ค่าประจำตัวของหน่วยใหม่ \[kg\rightarrow pg={{10^{3}}\over{10^{-12}}} \ pg =10^{15} \ \ \ pg\] การเปลี่ยนหน่วยมวลของโปรตรอน \(1.6\times10^{-27} \ \) กิโลกรัม เป็น พิโคกรัม \[1.6\times 10^{-27} \ \ kg=1.6\times 10^{-27} \times {{10^3}\over {10^{-12}}} \ \ pg\] \[1.6\times 10^{-27} \ \ kg=1.6\times 10^{-27} \times 10^{15}\ \ pg\] \[1.6\times 10^{-27} \ \ kg=1.6\times 10^{-12}\ \ pg\]
ตัวเลขทุกตัว เป็น เลขนัยสำคัญ ยกเว้น ตัวเลขยกกำลัง ชุดเลขศูนย์หน้าตัวเลขแรก ตัวแปรค่าคงที่ เป็นต้น จำนวนเลขเหล่านี้ \(0.0652 \ \) กิโลกรัม, \( \ 8.20\times 10^{-2} \ \) เมตร, \( \ 25.5 \ \) เซนติเมตร, \( \ 30.0\pi \ \) เมตรต่อวินาที และ \( \ 8.0 \ \) วินาที ทุกตัวมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
การบวก หรือ ลบ เลขนัยสำคัญ ให้บันทึกคำตอบสุดท้าย ตามตัวเลขที่มี ตำแหน่งทศนิยม ต่ำสุด \[1.2+62.543-10.02=63.753\] \[1.2+62.543-10.02=63.8\]
การคูณ หรือ หาร เลขนัยสำคัญ ให้บันทึกคำตอบสุดท้าย ตามตัวเลขที่มี จำนวนเลขนัยสำคัญ ต่ำสุด \[123.45 \times 2.0 = 246.9\] \[123.45 \times 2.0 = 2.5\times 10^{-2}\] \[{47.0\over 6.0}=7.833\] \[{47.0\over 6.0}=7.8\]
การผสม บวก ลบ คูณ หาร ให้ดำเนินการ คูณ หาร ตามหลักเลขนัยสำคัญ ลำดับแรกก่อน \[x=0.7+2.05\times 10.5\] \[x=0.7+21.525\] \[x=0.7+21.5\] \[x=22.2\]
การบวก ตัวเลขที่มี ค่าคลาดเคลื่อน \( \ (\pm) \ \) ให้บันทึกค่าคลาดเคลื่อน ตามสูตร \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{(a\pm \Delta a)+(b\pm \Delta b)=c\pm \Delta c }}\] โดยที่ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{c=a+b }}\] \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{\Delta c=\Delta a+\Delta b }}\] หรือ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{(a\pm \Delta a)+(b\pm \Delta b)=(a+b)\pm \Delta (a+b) }}\] พิจารณา \[(10\pm 1)+(20\pm 2)=? \] \[(10\pm 1)+(20\pm 2)=(10+20)\pm (1+2)\] \[(10\pm 1)+(20\pm 2)=30\pm 3\] การลบ ตัวเลขที่มี ค่าคลาดเคลื่อน \( \ (\pm) \ \) ให้บันทึกค่าคลาดเคลื่อน ตามสูตร \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{(c\pm \Delta c)-(d\pm \Delta d)=e\pm \Delta e}}\] โดยที่ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{e=c-d }}\] \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{\Delta e=\Delta c+\Delta d }}\] หรือ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{(c\pm \Delta c)-(d\pm \Delta d)=(c-d)\pm (\Delta c+\Delta d)}}\] พิจารณา \[(20\pm 1)-(10\pm 2)=?\] \[(20\pm 1)-(10\pm 2)=(20-10)\pm (1+2)\] \[(20\pm 1)-(10\pm 2)=10\pm 3\]
การคูณ ตัวเลขที่มี ค่าคลาดเคลื่อน \( \ (\pm) \ \) ให้บันทึกค่าคลาดเคลื่อน ตามสูตร \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{(d\pm \Delta d)(e\pm \Delta e)=f\pm \Delta f}}\] โดยที่ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{f=de}}\] \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{\Delta f = d\Delta e + e\Delta d}}\] หรือ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{(d\pm \Delta d)(e\pm \Delta e)=de\pm (d\Delta e + e\Delta d)}}\] พิจารณา \[(20\pm 1)(10\pm 2)=?\] \[(20\pm 1)(10\pm 2)=(20\times 10)\pm (20\times 2 + 10\times 1)\] \[(20\pm 1)(10\pm 2)=200\pm (40 + 10)\] \[(20\pm 1)(10\pm 2)=200\pm 50\]
การหาร ตัวเลขที่มี ค่าคลาดเคลื่อน \( \ (\pm) \ \) ให้บันทึกค่าคลาดเคลื่อน ตามสูตร \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{{{e\pm \Delta e}\over {f\pm \Delta f}}=g\pm \Delta g}}\] โดยที่ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{g={e\over f}}}\] \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{\Delta g = ({{{\Delta e} \over e}+{{\Delta f} \over f}})({e\over f})}}\] หรือ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{{{e\pm \Delta e}\over {f\pm \Delta f}}= {e\over f} \pm ({{{\Delta e} \over e}+{{\Delta f} \over f}})({e\over f})}}\] พิจารณา \[{{10\pm 2}\over {20\pm 1}}=?\] \[{{10\pm 2}\over {20\pm 1}}= {10\over 20}\pm ({{{2} \over 10}+{{1} \over 20}})({10\over 20})\] \[{{10\pm 2}\over {20\pm 1}}= 0.5\pm (0.2+0.05)(0.5)\] \[{{10\pm 2}\over {20\pm 1}}= 0.5\pm (0.25)(0.5)\] \[{{10\pm 2}\over {20\pm 1}}= 0.5\pm 0.125\] \[{{10\pm 2}\over {20\pm 1}}= 0.5\pm 0.13\]
เปอร์เซ็นต์ ความคลาดเคลื่อน ของ \(c \pm \Delta c \) ตามสูตร \[\% ({\Delta c \over c})={\Delta c \over c}\times 100\%\] พิจารณา ค่า \( \ d \ \) จะเป็น \( \ \pm \ \) กี่เปอร์เซ็นต์ของค่า \( \ d\) จากสมการ \[d={1 \over 2}{{Dl} \over L}\] กำหนดให้ \[D = 10 \pm 1\] \[L = 500 \pm 1\] \[l = 20 \pm 1\] หาผลคูณ ค่าคลาดเคลื่อนก่อน \[Dl=(10 \pm 1)(20 \pm 1)\] \[Dl=(10 \times 20) \pm (10 \times 1 + 20 \times 1) \] \[Dl=200 \pm (10 + 20) \] \[Dl=200 \pm 30 \] หารผลหาร ค่าคลาดเคลื่อน \[{{Dl} \over L}={{200 \pm 30} \over {500 \pm 1}}\] \[{{Dl} \over L}={200\over 500} \pm ({{{30} \over 200}+{{1} \over 500}})({200\over 500})\] \[{{Dl} \over L}=0.4 \pm (0.15+0.002)(0.4)\] \[{{Dl} \over L}=0.4 \pm (0.152)(0.4)\] \[{{Dl} \over L}=0.4 \pm 0.0608\] \[{{Dl} \over L}=0.4 \pm 0.06\] ดังนั้น \[d={1 \over 2}{{Dl} \over L}\] \[d={1 \over 2}\times (0.4 \pm 0.06)\] \[d=0.2 \pm 0.03\] \( \ \pm \ \)เปอร์เซ็นต์ ความคลาดเคลื่อน ของค่า \( \ d \ \) เท่ากับ \[\% ({\Delta d \over d})={0.03 \over 0.2}\times 100\%\] \[\% ({\Delta d \over d})=0.15\times 100\%\] \[\% ({\Delta d \over d})=15\%\]
ภาพเกิดจาก แสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุ แล้วสะท้อน มาตัดกัน หรือ หักเหผ่านตัวกลาง มาตัดกัน เกิด เป็น ภาพเสมือน หรือ ภาพจริง ขึ้นกับชนิดของตัวกลาง เช่น กระจกสะท้อนแสง กระจกเว้า กระจกนูน เลนส์เว้า หรือ เลนส์นูน เป็นต้น
I/ พิจารณา ตั้งกระจกเงาราบ สูง \( \ d \ \) เมตร ห่างจากตา \( \ d' \ \) เมตร ทำให้มองเห็นภาพต้นไม้ ที่อยู่ด้านหลัง ในกระจก ได้ทั้งต้นพอดี ถ้าต้นไม้อยู่ห่างกระจก \( \ h' \ \) เมตร ความสูงของต้นไม้ \( \ h \ \) เมตร หาจากสูตร \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{h={d \over d' }(h'+d')}}\] ถ้า กำหนดให้ \( \ d=30 \ \ cm , \ \ d'= 1 \ \ m , \ \ h'=30 \ \ m \ \) \[h={0.3 \over 1 }(30+1)\] \[h=0.3 \times 31\] \[h=0.93 \ \ m\]
กระจกโค้ง มี 2 ชนืด คือ กระจกเว้า และ กระจกนูน แสงจะสะท้อนกลับ สมการกระจกโค้ง \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{{1\over s}+{1\over s'}={1\over f} }}\] รัศมีความโค้ง ของกระจกโค้ง \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{R=2f}}\] กำลังขยายกระจกโค้ง \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{m=-{s'\over s}={h'\over h}}}\]
คุณสมบัติ | กระจกเว้า | กระจกนูน |
ความยาวโฟกัส | \(f (+) \) | \(f (-) \) |
ระยะวัตถุ | \(s (+) \) | \(s (+) \) |
ภาพจริง | \(s' (+) \), หน้ากระจก | ไม่เกิด |
ภาพเสมือน | \(s' (-) \), หลังกระจก | \(s' (-) \), หลังกระจก |
ภาพขนาดใหญ่ | \(s' (\pm ) \) | ไม่เกิด |
ภาพขนาดเล็ก | ไม่เกิด | \(s' (-) \) |
ภาพหัวตั้ง | \(m (+),s'(-),h'(+) \) | \(m (+),s'(-),h'(+) \) |
ภาพหัวกลับ | \(m (-), \ s'(+), \ h'(-) \) | ไม่เกิด |
นักเรียน ทำการทดลอง หาความยาวโฟกัส ของกระจกเว้าอันหนึ่ง พบว่า เมื่อวางวัตถุ ห่างกระจก เป็นระยะทาง 20 เซนติเมตร จะได้ ภาพจริง มีความสูง เป็นสามเท่า ของวัตถุ อยากทราบว่า ถ้าวางวัตถุ ห่างจากกระจก 10 เซนติเมตร ภาพที่ได้ จะเป็นเช่นไร
พิจารณาข้อมูล \[s=+20\] \[s'\rightarrow +\] \[m=-3\] กำลังขยายกระจกโค้ง \[m=-{s'\over s}\] \[-3=-{s'\over 20}\] \[s'=+60\] สมการกระจกโค้ง \[{1\over s}+{1\over s'}={1\over f}\] \[{1\over 20}+{1\over 60}={1\over f}\] \[{{3+1}\over 60}={1\over f}\] \[f={60\over 4}\] \[f=15\] กระจกเว้า มีความยาวโฟกัส 15 เซนติเมตร
หาระยะภาพที่เกิดจาก วางวัตถุ ห่างจากกระจก 10 เซนติเมตร \[{1\over s}+{1\over s'}={1\over f}\] \[{1\over 10}+{1\over s'}={1\over 15}\] \[{1\over s'}={1\over 15}-{1\over 10}\] \[{1\over s'}={{4-6}\over 60}\] \[s'={60\over {-2} }\] \[s'=-30\] กำลังขยายกระจกโค้ง \[m=-{s'\over s}\] \[m=-{(-30)\over 10}\] \[m=3\] สรุป เกิดภาพเสมือน หัวตั้ง สูงเป็นสามเท่าของวัตถุ หลังกระจก
วางวัตถุอันหนึ่ง หน้ากระจกโค้ง ซึ่งมีความยาวโฟกัส 20 เซนติเมตร ปรากฏว่า ได้ภาพเสมือน มีกำลังขยายเท่ากับ 0.1
พิจารณาข้อมูล กำลังขยายน้อยกว่า 1 แสดงว่า เป็นกระจกนูน ความยาวโฟกัส \[f=-20\] กำลังขยายกระจกโค้ง \[m=-{s'\over s}\] \[0.1=-{s'\over s}\] \[s'=-0.1s\] สมการกระจกโค้ง \[{1\over s}+{1\over {-0.1s}}={1\over {-20}}\] \[{1\over s}-{10\over s}={1\over {-20}}\] \[{{1-10}\over s}={1\over {-20}}\] \[{{-9}\over s}={1\over {-20}}\] \[s=(-9)(-20)\] \[s=180\] ดังนั้น วัตถุวางหน้ากระจกนูน ที่ระยะ 180 เซนติเมตร
แสงเดินทาง ผ่านตัวกลาง ที่มีค่าดรรชนีหักเหแสง \( \ n \ \) มีความยาวคลื่น \( \ \lambda \ \) ด้วยความเร็ว \( \ v \ \) ทำมุมตกกระทบ \( \ \theta \ \) กับเส้นตั้งฉากกับผิวรอยต่อ จะหักเห เข้าไปใน อีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้ ความยาวคลื่น ความเร็ว และมุมหักเห เปลี่ยนไป กฏของสเนลล์ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{n_1\sin \theta_1=n_2\sin \theta_2}}\] ดรรชนีหักเหแสง \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{n={{3\times 10^8}\over v}}}\] ความเร็วแสง \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{v=\lambda f}}\] มุมวิกฤติ \( \ (\theta_c) \ \) คือ มุมตกกระทบ ที่ทำให้มุมหักเห เบนออกไป 90 องศา จะเกิดในตัวกลาง ที่มีดรรชนีหักเหแสง \( \ n_1 > n_2 \ \) และ ความเร็วแสง \( \ v_1 < v_2 \ \) ด้วย \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{n_1\sin \theta_c=n_2}}\] หรือ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{\sin \theta_c = {n_2\over n_1} = {v_1\over v_2}< 1}}\]
แสงที่เดินทาง เข้าไปใน ตัวกลางชนิดหนึ่ง ซึ่งมีมุมวิกฤติ เท่ากับ 30 องศา จะมีความเร็วในตัวกลางเท่าใด
มุมวิกฤติ \[\sin \theta_c = \sin 30^\circ \] \[\sin \theta_c = {1\over 2} < 1\] พิจารณา \[\sin \theta_c = {v_1\over v_2}\] แสดงว่า มุมวิกฤติ อยู่ในตัวกลางหนึ่ง มีความเร็ว \( \ v_1 \ \) หักเหออก ไปสู่ตัวกลางอากาศ ที่มีความเร็ว \( \ v_2=3\times 10^8 \ \) ดังนั้น \[\sin \theta_c = {v_1\over v_2}\] \[{1\over 2} = {v_1\over {3\times 10^8}}\] \[v_1={1\over 2}\times 3\times 10^8 \] \[v_1=1.5\times 10^8 \ \ \ m/s\]
ความลึกจริง-ลึกปรากฏ
กรณีมองเอียง ดังรูป
พิจารณาจาก กฏการสะท้อน และ กฏการหักเห จะได้ ความสัมพันธ์
\[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{s'\tan \theta_1=s\tan \theta_2}}\]
และ
\[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{\tan \theta_2={R\over s}}}\]
หรือ
\[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{s'\tan \theta_1=R}}\]
ถังทรงกระบอกสูง 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร มีน้ำมันอยู่ในถังเต็มพอดี ฉายลำแสงขนาน ที่ขอบถัง ด้วยมุมตกกระทบ 60 องศา ทำให้แสงไป ปรากฏที่กลางก้นถัง จะเห็นก้นถัง อยู่ลึกกี่เมตร
พิจารณาข้อมูล
\[\theta_1=60^\circ\]
\[R=1 \ \ \ m\]
ดังนั้น
\[s'\tan \theta_1=R\]
\[s'\tan 60^\circ=1\]
\[s'\times \sqrt{3}=1\]
\[s'={1\over {\sqrt{3}}} \ \ \ m\]
กรณีมองในแนวดิ่ง ความสัมพันธ์ จะลดรูปเป็น \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{s'\sin \theta_1=s\sin \theta_2}}\] วัตถุอยู่ที่พื้นสระน้ำ ลึก 5 เมตร ถ้าดรรชนีหักเหของน้ำมีค่า 4/3 จะมองเห็นวัตถุลึกจาก ผิวน้ำกี่เมตร
พิจารณาจากช้อมูล ผู้มองอยู่ในอากาศ เป็นตัวกลาง 1 วัตถุอยู่ในน้ำ เป็นตัวกลาง 2 จากกฏการหักเหแสง \[n_1\sin \theta_1=n_2\sin \theta_2\] \[1\times \sin \theta_1={4\over 3}\times \sin \theta_2\] \[3\sin \theta_1=4\sin \theta_2 \ \ \ ... (1) \] ความสัมพันธ์ การมองในแนวดิ่ง \[s'\sin \theta_1=s\sin \theta_2\] \[s'\sin \theta_1=5\sin \theta_2 \ \ \ ... (2) \] นำสมการ (2)\(\div\)(1) \[{{s'\sin \theta_1}\over {3\sin \theta_1}}={{5\sin \theta_2}\over {4\sin \theta_2}}\] \[s'={15\over 4} \ \ \ m\]
เลนส์ มี 2 ชนืด คือ เลนส์เว้า และ เลนส์นูน แสงจะหักเหผ่านเลนส์ สมการเลนส์ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{{1\over s}+{1\over s'}={1\over f} }}\] รัศมีความโค้ง ของเลนส์ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{R=2f}}\] กำลังขยายเลนส์ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{m=-{s'\over s}={h'\over h}}}\]
คุณสมบัติ | เลนส์นูน | เลนส์เว้า |
ความยาวโฟกัส | \(f (+) \) | \(f (-) \) |
ระยะวัตถุ | \(s (+) \) | \(s (+) \) |
ภาพจริง | \(s' (+) \), หลังเลนส์ | ไม่เกิด |
ภาพเสมือน | \(s' (-) \), หน้าเลนส์ | \(s' (-) \), หน้าเลนส์ |
ภาพขนาดใหญ่ | \(s' (\pm ) \) | ไม่เกิด |
ภาพขนาดเล็ก | ไม่เกิด | \(s' (-) \) |
ภาพหัวตั้ง | \(m (+),s'(-),h'(+) \) | \(m (+),s'(-),h'(+) \) |
ภาพหัวกลับ | \(m (-), \ s'(+), \ h'(-) \) | ไม่เกิด |
วัตถุสูง 4 เซนติเมตร วางหน้าเลนส์นูน เป็นระยะ 12 เซนติเมตร ได้ภาพจริง ห่างจากเลนส์ 24 เซนติเมตร จงหาความสูงของภาพ และ ความยาวโฟกัสของเลนส์
พิจารณาข้อมูล \[h=4 \ \ \ cm\] \[s=12 \ \ \ cm\] \[s'=+24 \ \ \ cm\] สมการเลนส์ \[{1\over s}+{1\over s'}={1\over f}\] \[{1\over 12}+{1\over 24}={1\over f}\] \[{{2+1}\over 24}={1\over f}\] \[{3\over 24}={1\over f}\] \[{1\over 8}={1\over f}\] \[f=8 \ \ \ cm\] เครื่องหมาย เป็นบวก (+) แสดงว่า เป็นเลนส์นูนจริง มีความยาวโฟกัส 8 เซนติเมตร
กำลังขยายเลนส์ \[-{s'\over s}={h'\over h}\] \[-{24\over 12}={h'\over 4}\] \[-2={h'\over 4}\] \[h'=-8\] เครื่องหมาย ติดลบ (-) แสดงว่า เกิดภาพจริง หัวกลับ ขนาดความสูง 8 เซนติเมตร
คนปกติ เห็นวัตถุชัด ตั้งแต่ระยะ \( \ 25 \ \) เซนติเมตร ถึงระยะอนันต์ ( \( \infty \) )
บุคคล | แว่นตาทำจาก | ระยะวัตถุ | ก่อนใส่แว่น |
สายตาสั้น | เลนส์เว้า | \(s=\infty\) | \(s_e=\)ระยะไกลชัดสุด |
สายตายาว | เลนส์นูน | \(s=25 \ cm \) | \(s_e=\)ระยะใกล้ชัดสุด |
ความยาวโฟกัส แว่นสายตาสั้น ทำจากเลนส์เว้า \[\bbox[black,6pt]{\color{#ffd542}{{f=-s_e}}}\] ความยาวโฟกัส แว่นสายตายาว ทำจากเลนส์นูน \[\bbox[black,6pt]{\color{#ffd542}{{f={25s_e\over {s_e-25}}}}}\]
ชายคนหนึ่ง สายตายาว ไม่สามารถมองเห็นวัตถุ ได้ชัดที่ระยะใกล้กว่า \( \ 50 \ \) เซนติเมตร เขาจะต้องใส่ แว่นที่ทำด้วยเลนส์ ชนิดใด ความยาวโฟกัสเท่าใด เพื่อ อ่านหนังสือ ที่ระยะ \( \ 25 \ \) เซนติเมตร
พิจารณาข้อมูล \[s=25 \ cm\] \[s_e=50 \ cm\] ความยาวโฟกัส แว่นสายตายาว ทำจากเลนส์นูน \[f={25s_e\over {s_e-25}}\] \[f={{25\times 50}\over {50-25}}\] \[f={{25\times 50}\over 25}\] \[f=50 \ cm \]
ชายคนหนึ่ง ต้องยืดแขนออก เมื่ออ่านหนังสือชัด ห่างจากตา \( \ 75 \ \) เซนติเมตร เขาจะต้องใส่แว่นตา ที่ทำจากเลนส์ ชนิดใด ความยาวโฟกัส เท่าใด ในการอ่านหนังสือ
พิจารณาข้อมูล \[s_e=75 \ cm\] ความยาวโฟกัส แว่นสายตายาว ทำจากเลนส์นูน \[f={25s_e\over {s_e-25}}\] \[f={{25\times 75}\over {75-25}}\] \[f={{25\times 75}\over 50}\] \[f=37.5 \ cm \]
หญิงคนหนึ่ง จะเห็นวัตถุชัดที่ระยะ \( \ 5-50 \ \) เซนติเมตร ถ้าต้องการเห็นชัด ที่ระยะอนันต์ชัดเจน ควรจะสวมแว่น ที่ทำจากเลนส์ ชนิดใด ความยาวโฟกัสเท่าใด และ เมื่อสวมแว่นแล้ว จะทำให้ระยะชัดใกล้สุดเป็นเท่าใด
พิจารณาข้อมูล \[s_e=50 \ cm\] ความยาวโฟกัส แว่นสายตาสั้น ทำจากเลนส์เว้า \[f=-s_e\] \[f=-50 \ \ cm\] กำหนด ระยะเห็นชัดใกล้สุด \( \ s_e=5 \ \) เซนติเมตร แทนที่จะเป็น ระยะเห็นชัดที่ \(s=25\) ดังนั้น ในสมการ ความยาวโฟกัส แว่นสายตายาว ทำจากเลนส์นูน \[f={25s_e\over {s_e-25}}\] จะเป็น \[f={ss_e\over {s_e-s}}\] \[-50={s\times 5\over {5-s}}\] \[-10={s\over {5-s}}\] \[-10(5-s)=s\] \[-50+10s=s\] \[10s-s=50\] \[9s=50\] \[s={50\over 9}\] \[s=5.55 \ \ cm \] หลังสวมแว่นตาแล้ว จะทำให้ระยะชัดใกล้สุดเป็น \(s=5.55 \ \ cm \)
การเคลื่อนที่แบบคลื่น พลังงานจากการเคลื่อนที่ จะถ่ายทอด ไปพร้อมกับ การเคลื่อนที่ของคลื่น รูปคลื่นมีลักษณะ ดังรูป
คุณสมบัติ | สัญลักษณ์ | หน่วย |
ความยาวคลื่น | \( \lambda \) | \( m \) |
ความเร็ว | \( v \) | \( m/s \) |
ความถี่ | \( f\) | \( Hz, s^{-1}, \) รอบต่อวินาที |
คาบเวลา | \(T \) | \(s \) |
ความต่างเฟส | \( \Delta \phi \) | องศา, \(rad\) |
ระยะทาง | s | \(m \) |
ความเร็วคลื่น \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{v={s\over t}}}\] \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{v={\lambda f}}}\] ความถี่คลื่น \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{f={1\over T}}}\] ความต่างเฟส \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{ {{\phi_2-\phi_1}\over {360^{\circ}}}= {{s_2-s_1}\over{\lambda}}=ft }}\] \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{ {{\phi_2-\phi_1}\over {2\pi}}= {{s_2-s_1}\over{\lambda}}=ft }}\]
คลื่นน้ำมีความถี่ 30 เฮิรตซ์ และ ความดร็ว 2.4 เมตร/วินาที ระยะทางระหว่าง 2 จุด ที่มีคลื่น มีความต่างเฟสเป็น 120 องศา มีค่าเป็นเท่าใด
พิจารณาข้อมูล \[f=30 \ \ \ Hz\] \[v= 2.4 \ \ \ m/s\] \[\phi_2-\phi_1=120^{\circ}\] ความยาวคลื่น \[v=\lambda f\] \[2.4=\lambda \times 30\] \[\lambda = {2.4\over 30}\] \[\lambda = 0.08 \ \ \ m \] ความต่างเฟส \[{{\phi_2-\phi_1}\over {360^{\circ}}}={{s_2-s_1}\over{\lambda}}\] \[{120^{\circ}\over {360^{\circ}}}={{s_2-s_1}\over{0.08}}\] \[{1\over 3}={{\Delta s}\over{0.08}}\] \[\Delta s={0.08\over 3}\] \[\Delta s=0.027 \ \ \ m\] \[\Delta s=2.7 \ \ \ cm\]
เมื่อ พิจารณา ตำแหน่งหนึ่ง ของผิวน้ำที่มีคลื่นน้ำนี้ ถ้าเวลาผ่านไป 1/90 วินาที แล้วคลื่น ณ ตำแหน่งนี้มีการเปลี่ยนเฟสไปเท่าใด
ความต่างเฟส \[{{\phi_2-\phi_1}\over {360^{\circ}}}=ft\] \[{{\phi_2-\phi_1}\over {360^{\circ}}}=30\times {1\over 90}\] \[\Delta \phi={1\over 3}\times 360^{\circ}\] \[\Delta \phi=120^{\circ}\]
คลื่นใด ๆ เมื่อเคลื่อนที่ผ่าน จากตัวกลางหนึ่ง ไปอีกตัวกลางหนึ่ง โดยที่ไม่ตั้งฉากกับ เส้นเขตระหว่างตัวกลาง จะมีการหักเห โดย ความเร็ว และ ความยาวคลื่น ในตัวกลางทั้งสอง ไม่เท่ากัน แต่ ความถี่ของคลื่น เท่ากัน
มีความสัมพันธ์ ดังนี้ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{ {{\sin \theta_1}\over{\sin \theta_2}}={{v_1}\over{v_2}}={{\lambda_1}\over{\lambda_2}} }}\]
ความเร็วคลื่นผิวน้ำลึก \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{v=\sqrt{gd}}}\] เมื่อ \( \ d \ \) คือ ความลึกของจากผิวน้ำ หน่วยเป็น เมตร จะได้ว่า ความเร็วคลื่นผิวน้ำลึก มากกว่า คลื่นผิวน้ำตื้น เสมอ
มุมวิกฤติ \( \ (\theta_c) \ \) คือ มุมตกกระทบ ที่ทำให้มุมหักเห เบนออกไป 90 องศา จะเกิดในบริเวณน้ำตื้น เสมอ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{\sin \theta_c = {v_1\over v_2}< 1}}\]
ในการทดลอง โดยใช้ถาดคลื่น พบว่า ความเร็วของคลื่นในน้ำลึก เป็น 2 เท่า ของความเร็วในน้ำตื้น ถ้าจะทำให้เกิดการสะท้อนกลับหมด คลื่นจะต้องตั้งต้น เคลื่อนที่ จากบริเวณไหน และ มีมุมวิกฤติเท่าใด
พิจารณาจากข้อมูล มุมวิกฤติ จะเกิดบริเวณน้ำตื้นในตัวกลางที่ 1 หักเหในบริเวณน้ำลึก ตัวกลางที่ 2 \[\lambda_2=2\lambda_1\] \[\sin \theta_c = {\lambda_1\over \lambda_2}\] \[\sin \theta_c = {\lambda_1\over {2\lambda_1}}\] \[\sin \theta_c = {1\over 2}\] \[\theta_c=30^{\circ}\]
เมื่อคลื่นระนาบ เคลื่อนผ่านช่องเปิด ซึ่งกว้างกว่าความยาวคลื่น จะเกิด การเลี้ยวเบน และ แทรกสอด แต่ ถ้าผ่านช่องเปิด ซึ่งน้อยกว่าความยาวคลื่น จะเกิดการเลี้ยวเบนอย่างเดียว เมื่อคลื่นผ่านช่องเปิดสองช่อง โดย แต่ละช่อง แคบกว่าความยาวคลื่น จะเกิด การเลี้ยวเบน และ แทรกสอด
ให้ \( \ S_1 \ \) และ \( \ S_2 \ \) เป็นแหล่งกำเนิดคลื่น ความถี่เดียวกัน และ เฟสตรงกัน อยู่ห่างกัน \( \ d \ \) เมตร \( \ O \ \) เป็นจุด ที่คลื่นเสริมกันตรงกลาง \( \ P \ \) เป็นจุดที่คลื่นเสริมกัน จากแนวกลาง ระยะ \( \ S_1P \ \) และ \( \ S_2P \ \) ยาวกว่า \( \ d \ \) มาก จะเกิดริ้วของแนวปฏิบัพที่ \( \ n \ \) ตามสมการ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{|S_1P-S_2P|=n\lambda}}\] เกิดริ้วของแนวปฏิบัพ รอบแนวกึ่งกลาง \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{-N,...,-3,-2,-1,0,1,2,3,...,N}}\] จำนวนแนวปฏิบัพทั้งหมด \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{N_A=2n+1}}\] และ \( \ Q \ \) เป็นจุดที่คลื่นหักล้างกัน จากแนวกลาง ระยะ \( \ S_1Q \ \) และ \( \ S_2Q \ \) ยาวกว่า \( \ d \ \) มากจะเกิดริ้วของแนวบัพที่ \( \ n \ \) ตามสมการ \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{|S_1Q-S_2Q|=({n-{1\over2}})\lambda}}\] เกิดริ้วของแนวบัพ รอบแนวกึ่งกลาง \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{-N,...,-3,-2,-1,1,2,3,...,N}}\] จำนวนแนวบัพทั้งหมด \[\bbox[black,5pt]{\color{#ffd542}{N_N=2n}}\]
ทดสอบ การเกิด แนวปฏิบัพ หรือ บัพ ถ้า ผลต่างของตำแหน่งหนึ่ง ห่างจากแหล่งกำเนิด ทั้งสอง หาร ด้วยความยาวคลื่น ได้ เลขจำนวนเต็ม เกิดปฏิบัพที่จุดนั้น ได้เลขทศนิยม \(\ x.5 \ \) เกิดบัพที่ \( \ (x.5+0.5) \ \)จุดนั้น
แหล่งกำเนิดคลื่นน้ำอาพันธ์ (มีเฟสตรงกัน) ให้หน้าคลื่นวงกลมสองแหล่ง อยู่ห่างกัน 10 เซนติเมตร มีความยาวคลื่น 2 เซนติเมตร ที่ตำแหน่งหนึ่ง ห่างจาก แหล่งกำเนิดคลื่นทั้งสอง เป็นระยะ 10 เซนติเมตร และ 19 เซนติเมตร ตามลำดับ จะอยู่บนแนวบัพ หรือ ปฏิบัพ ที่เท่าใด นับจากแนวกลาง
พิจารณาข้อมูล ผลต่างของตำแหน่งหนึ่ง ห่างจากแหล่งกำเนิด ทั้งสอง หาร ด้วยความยาวคลื่น \[{{|10-19|}\over 2}={9\over 2}=4.5\] แสดงว่าที่จุดนั้นเกิดบัพ แนวที่ \[n=4.5+0.5\] \[n=5\]
มวลสองก้อนผูกติดกับเชือกที่คล้องบนรอกที่ลื่นและเบา มวล \(m_2\) วางอยู่บนพื้นระดับที่ลื่นและมวล \(m_1\) แขวนอยู่กับรอก ดังรูป \(g\) เป็นขนาดของความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก จงหาแรงตึงในเส้นเชือกขณะมวลทั้งคู่กำลังเคลื่อนที่
จากรูป มวล \(m_1\) ดึงมวล \(m_2\) ทำให้ระบบเคลื่อนที่ลงตามกฎของนิวตัน \(\Sigma F = ma\) จะได้ \[m_1g=(m_1+m_2)a\] \[a={m_1g\over{m_1+m_2}}\] ดังนั้น เชือกดึงมวล \(m_2\) มีความเร่ง \(a\) ด้วย โดยใช้แรง \[T=m_2a={m_1m_2\over{m_1+m_2}}g\]
ทรงกระบอกตัน (โมเมนต์ความเฉื่อย \({1\over 2}MR^2\)) และทรงกระบอกกลวง (โมเมนต์ความเฉื่อย \(MR^2\)) ให้กลิ้งโดยไม่ไถลลงมาจากพื้นเอียงเดียวกัน และจากตำแหน่งตั้งต้นเดียวกัน จงคำนวณอัตราส่วน ของความเร็ว ของทรงกระบอกกลวง ต่อความเร็ว ของทรงกระบอกตัน ที่ตำแหน่งปลายพื้นเอียง
จากกฎอนุรักษ์พลังงาน วัตถุมวลเท่ากันถูกปล่อย ณ ตำแหน่งเดียวกัน จะตกกระทบพื้น มีพลังงานจน์รวมเท่ากันด้วย นั้นคือ \[\Sigma E_{k,ทรงกระบอกกลวง}=\Sigma E_{k,ทรงกระบอกตัน}\] \[{1\over 2}Mv_1^2+{1\over 2}I_1\omega_1^2={1\over 2}Mv_2^2+{1\over 2}I_2\omega_2^2\] \[Mv_1^2+I_1\omega_1^2=Mv_2^2+I_2\omega_2^2 \ \ \ ... (1)\] ให้ \(I=aMR^2\) และ \(\omega = {v\over R}\) ได้ \[I\omega^2=aMR^2\times ({v\over R})^2=aMv^2\] ดังนั้น \[I_1\omega_1^2=Mv_1^2\] และ \[I_2\omega_2^2={1\over 2}Mv_2^2\] แทนใน (1) จะได้ \[Mv_1^2+Mv_1^2=Mv_2^2+{1\over 2}Mv_2^2\] \[2Mv_1^2={3\over 2}Mv_2^2\] \[v_1^2={3\over 4} v_2^2\] \[{v_1\over v_2}={\sqrt{3}\over 2}\]
ดาวเทียมสื่อสารดวงหนึ่ง มีคาบการโคจรเท่ากับ คาบการหมุนรอบตัวเองของโลก หากต้องการให้คาบ การโคจรของดาวเทียมดวงนี้เป็น 3 ชั่วโมง จะต้องปรับระยะห่าง จากจุดศูนย์กลางโลก เป็นกี่เท่าของระยะห่างเดิม
ดาวเทียมโคจรรอบโลก ด้วยแรงหนีศูนย์กลาง เท่ากับแรงดึงดูดระหว่างมวล ตามกฎของนิวตัน \[{mv^2\over R}={GmM\over {R^2}}\] \[v \ \alpha \ {1\over {\sqrt{R}}} \] ให้ \(T_1=3\) ชั่วโมง เป็นคาบเวลา ที่ระยะห่างรัศมี \(R_1\) และ \(T_2=24\) ชั่วโมง เป็นคาบเวลา ที่หมุนรอบโลกรัศมี \(R_2\) จากความสัมพันธ์ \(v={2\pi R \over T}\) จะได้ \(v \ \alpha \ {R\over T}\) และจาก สมการข้างต้น \(v \ \alpha \ {1\over {\sqrt{R}}}\) ดังนั้น \[{R\over T} \ \alpha \ {1\over {\sqrt{R}}}\] \[\sqrt{R^3} \ \alpha \ T\] \[R \ \alpha \ \sqrt[3]{T^2}\] \[{R_1\over R_2}=\sqrt[3]{({T_1\over T_2})^2}\] \[{R_1\over R_2}=\sqrt[3]{({3\over 24})^2}\] \[{R_1\over R_2}=\sqrt[3]{({1\over 8})^2}\] \[{R_1\over R_2}=({1\over 2})^2\] \[{R_1\over R_2}={1\over 4}\]
ชายคนหนึ่งมีมวล \(60 \ kg\) ออกกำลังกายขณะอยู่ในท่า ดังรูป แขนแต่ละข้าง ต้องรับน้ำหนักกี่นิวตัน กำหนด ให้ระยะห่าง จากปลายเท้า ถึงจุดศูนย์กลางมวลเป็น \(100 \ cm\) และระยะจากปลายเท้าถึงมือเป็น \(150 \ cm \) กำหนด \(g=9.8 \ m/s^2\)
ให้ \(F\) เป็นแรงที่แขนแต่ละข้างรับน้ำหนักตัวเอง และจุดหมุนอยู่ที่ปลายเท้า ดังนั้น \[(2F)\times 1.5 = (mg) \times 1\] \[3F = (60\times 9.8) \times 1\] \[3F=588\] \[F={588\over 3}\] \[F=196 \ N\]
กล่องมวล \(M_1\) และ \(M_2\) วางอยู่บนพื้น ที่มีสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน กับกล่องทั้งสองเท่ากัน มีเชือกเบาผูกโยง ดังรูป ถ้าดึงเชือกที่ผูก \(M_2\) ให้ทิศทางของความเร่ง ชี้ไปทางขวา จงหาอัตราส่วนของขนาด แรงดึงเชือก \({T_1\over T_2}\)
จากฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน \[\Sigma F=ma\] แรงดึงเชือก \( \ T_2 \ \) ดึงมวล \( \ M_2 \ \) ด้วยความเร่ง \( \ a \ \) \[T_2-T_1-\mu M_2g=M_2a \ \ ... (1)\] แรงดึงเชือก \(T_1\) ดึงมวล \( \ M_1 \ \) ด้วยความเร่ง \( \ a \ \) \[T_1-\mu M_1g = M_1a \ \ ... (2)\] กำจัดตัวแปร \(a\) นำสมการ (1) \(\div\) (2) ได้ \[{{T_2-T_1-\mu M_2g}\over {T_1-\mu M_1g}}={M_2\over M_1}\] คูณไขว้เศษส่วน \[(T_2-T_1-\mu M_2g)M_1=M_2(T_1-\mu M_1g)\] คูณกระจายเข้ามาในวงเล็บ \[M_1T_2-M_1T_1-\mu M_1M_2g=M_2T_1-\mu M_1M_2g\] ในสมการมีแปร \(-\mu M_1M_2g \ \) หักล้างกันได้ จะเหลือ \[M_1T_2-M_1T_1=M_2T_1\] ย้ายข้าง \(-M_1T_1 \ \) ไปทางขวาของสมการ และดึงตัวร่วม ได้ \[M_1T_2=(M_1+M_2)T_1\] ดังนั้น \[{T_1\over T_2}={M_1\over {M_1+M_2}}\]
ถ้าลำน้ำความหนาแน่น \(\ \rho \ \) พื้นที่หน้าตัดขวาง \( \ A\ \) พุ่งเข้าชนตั้งฉากกับกำแพงด้วยความเร็ว \(\ v\ \) โดยไม่สะท้อนกลับ จงหาขนาดของแรงที่กำแพงกระทำต่อลำน้ำ
จากสมการการดล \[Ft=m(v-u)\] ให้ลำน้ำมีมวล \( \ m=\rho V\ \) และปริมาตร \( \ V=As \ \) เมื่อ \( \ s \ \) คือ ความยาวของลำน้ำ ที่กระทบกำแพง ใช้เวลา \( \ t\) โดยไม่สะท้อนกลับ แสดงว่า \( \ v=0 \ \) และ \( \ u=-v \ \) (โจทย์กำหนด) จะได้ \[Ft=\rho V(0-(-v)\] \[Ft=\rho (As)v\] \[F={{\rho Avs}\over t} ... (1)\] แต่เนื่องจาก \[s={v-u\over t}\] \[s={0-(-v)\over t}\] \[s=vt\] หรือ \[v={s\over t} ... (2)\] แทนสมการ (2) ใน (1) จะได้ \[F={\rho Av^2} \]
พิจารณาข้อมูลของดาวเคราะห์ต่างๆ ในตารางด้านล่างนี้ ถ้าชั่งน้ำหนักของวัตถุ ด้วยตาชั่งเดียวกัน บนดาวเคราะห์ต่างๆ ลำดับน้ำหนัก ของวัตถุที่ชั่งบนดาวเคราะห์ต่างๆ เป็นอย่างไร
มวลเทียบกับโลก | รัศมีเทียยบกับโลก | |
โลก | 1 | 1 |
ดาวพฤหัส | 320 | 11.2 |
ดาวยูเรนัส | 14 | 4.0 |
วัตถุมีมวลคงที่ แต่ น้ำหนักที่ชั่ง จะแปรผันตรงกับ ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง บนดาวเคราะห์นั้นๆ \( \ W=mg \ \) จากกฎแรงดึงดูดระหว่างมวล ของนิวตัน จะได้
\[g={GM\over R^2}\]
จะเห็นว่า ความเร่งบนผิวดาว จะขึ้นกับมวล และรัศมีของดาวเคราะห์ นั้น
\[W \ \alpha \ g \ \alpha {M\over R^2}\]
ดังนั้น ถ้าหาอัตราส่วน \({M\over R^2}\) ได้ ก็สามารถเปรียบเทียบ น้ำหนักที่ชั่งบนดาวเคราะห์ได้
โลก :
\[{M\over R^2}={1\over 1^2}=1 \ \ \ ... (1)\]
ดาวพฤหัส :
\[{M\over R^2}={320\over 11.2^2} \approx {320\over 121} > 1 \ \ \ ... (2)\]
ดาวยูเรนัส :
\[{M\over R^2}={14\over 4^2} = {14\over 16} \lt 1 \ \ \ ... (3)\]
สรุป ลำดับน้ำหนัก ของวัตถุที่ชั่งบนดาวเคราะห์ เรียงจากมากไปน้อย คือ
ดาวพฤหัส > โลก > ดาวยูเรนัส
ชายคนหนึ่งมวล \( \ 50 \ kg \ \) วิ่งขึ้นบันไดที่มึความสูง \( \ 10 \ m \ \) ในเวลา \(5.0 \ s \ \) ถ้าในการวิ่งขึ้นบันได ประสิทธิภาพ การทำงานของร่างกายมนุษย์ คือ \( \ 20\% \ \) และพลังงานที่สูญเสียไปทั้งหมด ในรูปของพลังงานความร้อน จงหา อัตราการผลิต ความร้อนเฉลี่ย ของร่างกายชายคนนี้ กำหนดให้ \( \ g=9.8 \ m/s^2 \)
หางานที่เดินขึ้นบันได \( \ 20\% \ \) เท่ากับ พลังงานศักย์โน้มถ่วง จากกฎอนุรักษ์พลังงาน \[ W=mgh\] \[W=50\times 9.8 \times 10\] \[W=4900 \ \ J\] นั่นคือ งาน \( \ 20 \% \ \) เท่ากับ \( \ 4900 \ \) จูล ดังนั้น งาน \( \ 100\% \ \) จะเท่ากับ \[W_t={{4900 \times 100 \%}\over {20\%}}\] \[W_t=24500 \ \ J\] พลังงานที่สูญเสียไป \( \ 80 \% \ \) ของพลังงานทั้งหมด ในรูปของพลังงานความร้อน คิดเป็น \[Q={80\% \times 24500 \over 100\%} \] \[Q=19600 \ \ J\] ดังนั้น อัตราการผลิต ความร้อนเฉลี่ย ในเวลา \(5.0 \ \) วินาที เท่ากับ \[Q'={Q\over t}\] \[Q'={19600\over 5}\] \[Q'=3920 \ \ J/s\]
อนุภาคหนึ่งเคลื่อนที่ เป็นเส้นตรงในแนวดิ่ง ถ้าความสัมพันธ์ ของความเร็ว และเวลา แสดงได้ดังกราฟ โดยที่ ค่าของความเร็ว ที่เป็นบวกแสดงถึง การเคลื่อนที่ขึ้นข้างบน จงหา เวลาที่อนุภาค ใช้ในการเคลื่อนที่ ไปยังตำแหน่งกึ่งกลาง ระหว่างตำแหน่ง ณ เวลา \( \ t=0 \ \) และตำแหน่ง ณ เวลา \( \ t=T_1 \ \) เป็นครั้งแรก
กำหนดให้ \( \ v \ \) คือ ความเร็ว ที่อนุภาค ใช้ในการเคลื่อนที่ ไปยังตำแหน่งกึ่งกลางเป็นครั้งแรก ใช้เวลา \( \ t \ \) วินาที ดังกราฟ ข้างล่าง พิจารณา จากกราฟ พื้นที่แรเงา คือ ระยะทาง ที่อนุภาคเคลื่อนที่ ได้เป็นครึ่งหนึ่ง ของระยะทางทั้งหมด คือ พื้นที่ใต้กราฟรูปบน \[{1\over 2}(V_0+v)t={1\over 2}\times ({1\over 2}V_0T_1)\] จะได้ \[t={1\over 2} {V_0T_1 \over {V_0+v}} \ \ \ ... (1)\] ใช้หลักสามเหลี่ยมคล้าย \[{V_0\over T_1}={V_0-v\over t}\] \[t={{(V_0-v)T_1}\over{V_0}} \ \ \ ... (2)\] สมการ (1) = (2) ได้ \[{1\over 2} {V_0T_1 \over {V_0+v}}={{(V_0-v)T_1}\over{V_0}} \] คูณไขว้เศษส่วน และ ใช้ \( \ (x+y)(x-y)=x^2-y^2\) \[V_0^2T_1=2(V_0^2-v^2)T_1\] \[V_0^2=2V_0^2-2v^2\] \[2v^2=V_0^2\] \[v={V_0\over {\sqrt {2}}} \ \ \ ... (2)\] นำสมการ (2) แทนใน (1) \[t={1\over 2} {V_0T_1 \over {V_0+{V_0\over {\sqrt {2}}}}} \] \[t={V_0T_1 \over {2V_0+\sqrt {2}V_0}} \] \[t={T_1 \over {2+\sqrt {2}}} \] ใช้หลัก Conjugate ทำส่วนให้เป็นจำนวนเต็ม \[t={T_1 \over {2+\sqrt {2}}}\times {{2-\sqrt{2}}\over {2-\sqrt{2}}} \] \[t={(2-\sqrt{2})T_1 \over {4-2}} \] ดังนั้น เวลาที่อนุภาค ใช้ในการเคลื่อนที่ ไปยังตำแหน่งกึ่งกลาง เป็นครั้งแรก คือ \[t={2-\sqrt{2} \over {2}}T_1 \ \ {วินาที}\]
ส่งอนุภาคแอลฟา และอนุภาคโปรตรอน เข้าไปในบริเวณ ที่มีสนามแม่เหล็กคงตัว และสม่ำเสมอ ขนาดความเร็วต้น ของโปรตรอนเป็น 2 เท่าของอนุภาคแอลฟา โดยที่ ความเร็วของ อนุภาคทั้งสอง มีทิศตั้งฉาก กับสนามแม่เหล็ก จงหาอัตราส่วน รัศมีความโค้ง ของการเคลื่อนที่ ของอนุภาคแอลฟา ต่อร้ศมีความโค้ง ของการเคลื่อนที่ของโปรตรอน
ประจุเคลื่อนที่ ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก จะเคลื่อนที่เป็นวงกลมมี รัศมีความโค้ง เท่ากับ \[R={{mv}\over{qB}}\] อนุภาคแอลฟา \( (\alpha )\) มีมวลเป็น 4 เท่าของโปรตรอน \( (p)\) และมีประจุเป็น 2 เท่าของโปรตรอน และกำหนดให้ โปรตรอน มีความเร็วต้นเป็น 2 เท่าของอนุภาคแอลฟา โดย สนามแม่เหล็ก \(B\) คงตัว นั่นคือ \[R \ \alpha \ {{mv}\over{q}}\] ดังนั้น จะได้อัตราส่วน \[{R_{\alpha}\over {R_p}}={m_{\alpha} \over m_p} \times {v_{\alpha} \over v_p} \times {q_p \over q_{\alpha}} \] แทนค่า \(m_{\alpha}=4m_p\), \( \ v_p=2v_{\alpha}\), \( \ q_{\alpha}=2q_p \ \) จะได้ \[{R_{\alpha}\over R_p}={4m_p \over m_p} \times {v_{\alpha} \over {2v_{\alpha}}} \times {q_p \over {2q_p}} \] \[{R_{\alpha}\over R_p}=1\]
สปริงอันหนึ่ง มีค่าคงตัวสปริง เท่ากับ \(300 \ N/m\) ยาว \(50.0 \ cm\) วางตั้งตรงในแนวดิ่ง เมื่อนำมวล \(1.00 \ kg\) ไปวางไว้บนสปริงด้านบน พร้อมกับกดมวลลงไป จนกระทั่งสปริงยุบลงไป \(10.0 \ cm\) แล้วปล่อยมวล จงหาความเร็วของวัตถุ ขณะที่สปริง กลับมามีความยาวเป็น \(50.0 \ cm\) กำหนด ให้ \(g=9.8 \ m/s^2\)
จากกฎอนุรักษ์พลังงาน พลังงานสะสมในสปริง (กดลงไป \( 0.1 \ m) \ \) เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์ (ที่ความสูง \( \ 0.1 \ m) \ \) และพลังงานจลน์ (มีความเร็ว \( \ v\) ) \[{1 \over 2}ks^2=mgh+{1\over 2}mv^2\] \[{1 \over 2}\times 300 \times {0.1}^2=1\times 9.8 \times 0.1+{1\over 2}\times 1\times v^2\] \[150 \times 0.01=0.98+{1\over 2}v^2\] \[v^2=2(1.50-0.98)\] \[v^2=2(0.52)\] \[v=\sqrt{1.04}\] \[v=1.02 \ \ \ m/s\]
ความหนาแน่นของภูเขาน้ำแข็ง มีค่า \( \ 920 \ kg/m^3 \ \) ภูเขานี้ลอยอยู่ในน้ำทะเล ที่มีความหนาแน่น \( \ 1030 \ kg/m^3 \ \) ปริมาตรส่วนที่จม อยู่ใต้ผิวน้ำ คิดเป็นร้อยละเท่าใด ของปริมาตรทั้งหมดของภูเขา
พิจารณา แรงลอยตัว เท่ากับ น้ำหนักที่กด จมลงไปด้วยปริมาตร \(V \ \) อยู่ใต้ผิวน้ำ \[\rho_{น้ำทะเล} Vg = mg\] \[1030V=m\] \[V={m\over 1030} \ \ \ ... (1)\] ให้ \(V_0 \ \) เป็น ปริมาตรภูเขาน้ำแข็งทั้งหมด หาจากสมการ \[m=\rho_{วัตถุ} V_0\] \[m=920 V_0\] \[V_0={m\over 920} \ \ \ ... (2)\] ปริมาตรส่วนที่จม เทียบกับปริมาตร ทั้งหมด สมการ (1) \(\div\) (2) จะได้ \[{V\over V_0}={m\over 1030}\times {920\over m}\] \[{V\over V_0}=0.89\] \[\%{V\over V_0}=0.89\times 100\%\] \[\%{V\over V_0}=89\%\]
แสงความยาวคลื่นหนึ่ง เคลื่อนที่ผ่านช่องเปิดคู่ (double slit) ที่มีระยะระหว่าง ช่องเปิด \(0.04 \ mm\) ถ้าช่องเปิดคู่ วางอยู่ห่างจาก ฉากรับภาพ \(1.6 \ m\) ริ้วสว่างอันดับที่สอง ปรากฏอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางฉาก เป็นระยะ \(4.0 \ cm\) จงหาความยาวคลื่นของแสงดังกล่าว
พิจารณาข้อมูล \[d=0.04 \ \ \ mm = 4\times 10^{-5} \ \ \ m\] \[D=1.6 \ \ \ m \] \[y=4\times 10^{-2} \ \ \ m\] \[n=2\] แสงผ่านช่องแคบคู่ เกิดริ้วสว่าง ใช้สมการแนวปฏิบัพ \[{{dy}\over D}=n\lambda\] \[{{4\times 10^{-5}\times 4\times 10^{-2}}\over 1.6}=2\lambda\] \[{{16\times 10^{-7}}\over 1.6}=2\lambda\] \[10\times 10^{-7}=2\lambda \] \[\lambda = {10\times 10^{-7}\over 2}\] \[\lambda = 5\times 10^{-7} \ \ m\] \[\lambda = {{5\times 10^{-7}}\over {10^{-9}}} \ \ nm\] \[\lambda = 5\times 10^{-7}\times 10^9 \ \ nm\] \[\lambda = 5\times 10^2 \ \ nm\] \[\lambda = 500 \ \ nm\] ทวนความรู้ \[m\rightarrow nm={1\over {10^{-9}}} \ nm=10^9 \ nm\]
สนามไฟฟ้าระหว่างแผ่นโลหะคู่ขนาน ที่วางอยู่ตามแนวดิ่ง ทำให้อิเล็กตรอน เคลื่อนที่ลง ด้วยความเร่ง 3 เท่า ของ \( \ g \ \) เมื่อกลับทิศของสนามไฟฟ้า อิเล็กตรอน จะเคลื่อนที่ ด้วยความเร่ง ขนาดกี่เท่าของค่า \( \ g \ \)
พิจารณาข้อมูล \[a=3g\] แรงไฟฟ้า ผลักอิเล็กตรอน ให้เคลื่อนที่ลงในแนวดิ่ง ด้วยความเร่ง จะหาแรงไฟฟ้าได้ ตามกฏของนิวตัน \[\Sigma F=ma\] \[F_E+mg=m\times 3g\] \[F_E=3mg-mg \] \[F_E=2mg \] เมื่อกลับทิศสนามไฟฟ้า แรงไฟฟ้า ผลักอิเล็กตรอน เคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่ง ด้วยความเร่ง ตามกฏของนิวตัน \[\Sigma F=ma\] \[F_E-mg=ma\] \[2mg-mg=ma \] \[mg=ma\] \[a=g\]
วงจรด้านล่าง สูญเสียพลังงานไฟฟ้าด้วยอัตรา กี่วัตต์ที่ตัวต้านทาน \( \ 6 \ \Omega\)
พิจารณาข้อมูล หาความต้านทาานรวม ในวงจรก่อน เพื่อที่จะหากระแสรวมไหลในวงจร ได้ \[R=R_{2\Omega}+R_{3\Omega}//R_{6\Omega}\] \[R=2+{{3\times 6}\over{3+6}}\] \[R=2+{18\over9}\] \[R=2+2\] \[R=4 \ \Omega\] กระแสรวมในวงจร จากสมการ \[I={V\over R}\] \[I={6\over 4}\] \[I=1.5 \ A\] หากระแสที่ไหลผ่าน ตัวต้านทาน \( \ 6 \ \Omega\) พิจารณาจาก ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อม ตัวต้านทาน \(\ 6 \ \Omega\) และ \( \ 3 \ \Omega\) เท่ากัน และวงจรขนาน ผลรวมของกระแสผ่าน ตัวต้านทาน ทั้งสอง จะเท่ากับ กระแสรวมในวงจร \[V_{6\Omega}=V_{3\Omega}\] \[I_{6\Omega}R_{6\Omega}=I_{3\Omega}R_{3\Omega}\] \[I_{6\Omega}\times 6=(1.5-I_{6\Omega})\times 3\] \[6I_{6\Omega}=4.5-3I_{6\Omega}\] \[9I_{6\Omega}=4.5\] \[I_{6\Omega}={4.5\over 9}\] \[I_{6\Omega}=0.5 \ A\] กระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน \( \ 6 \ \Omega\) จะเกิดกำลังไฟฟ้าสูญเสีย ที่ตัวต้านทาน \( \ 6 \ \Omega\) ตามสมการ \[P=I_{6\Omega}^2R_{6\Omega}\] \[P=0.5^2\times 6\] \[P=0.25\times 6\] \[P=1.5 \ W\]
ที่ระยะหนึ่ง จากเครื่องตัดหญ้า วัดระดับความเข้มเสียง ได้เป็น \( 85 \ dB \ \) ถ้าอยู่ห่างจากเครื่องตัดหญ้า เป็น 10 เท่า ของระยะห่างเดิม จะวัดระดับความเข้มเสียง ได้กี่ \(\ dB \ \)
พิจารณาข้อมูล \[\beta_1=85 \ dB \] \[R_2=10R_1\] \[P_1=P_2\] ความเข้มเสียง มาจากแหล่งกำเนิดเสียงเดียวกัน (กำลังวัตต์คงที่) จากสมการ \[I={P\over R^2}\] \[I\ \alpha \ {1\over R^2}\] จะได้ ความสัมพันธ์ \[{I_2\over I_1}=({R_1\over R_2})^2\] แทนค่า \( \ R_2=10R_1 \ \) ได้ \[{I_2\over I_1}=({R_1\over {10R_1}})^2\] \[{I_2\over I_1}=({1\over 10})^2 \ \ \ ...(1)\] สมการความแตกต่างของ ระดับความเข้มเสียงที่ระยะห่างต่างกัน \[\beta_2-\beta_1=10\log ({I_2\over I_1})\] แทนค่า \( \ \beta_1=85 \ dB \ \) และอัตราส่วน จากสมการ (1) ได้ \[\beta_2-85=10\log ({1\over 10})^2\] \[\beta_2-85=10\log (10)^{-2}\] \[\beta_2-85=-20\log (10)\] \[\beta_2-85=-20\times 1\] \[\beta_2=-20+85\] \[\beta_2=65 \ dB\]
ทวนความรู้:
\[\beta_2-\beta_1=10\log ({I_2\over I_1})=10\log ({R_1\over R_2})^2\]
\[\log (10)=1\]
\[\log ({1\over 1o})=\log (10)^{-1}=-\log (10)=-1\]
ภาชนะปิดสนิททำด้วยฉนวน ความร้อนแข็งเกร็ง ปริมาตร \( \ 500 \ cm^3 \ \) บรรจุก๊าซอุดมคติ แบบอะตอมเดี่ยว ซึ่งมีความดัน \( \ 2\times 10^6 \ Pa \) ภายในภาชนะ มีขดลวดตัวนำให้ความร้อน ซึ่งต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า จากภายนอก ที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า \( \ 15 \ V \ \) พบว่า หลังจากที่ให้กระแสไหล เป็นเวลา \( \ 100 \ s \ \) ความดันของก๊าซภาชนะเปลี่ยนไปเป็น \( \ 1.1\times 10^7 \ Pa \) ความต้านทานของ ขดลวดให้ความร้อน มีค่าเท่าใด
พิจารณาข้อมูล \[V_1=500 \ cm^3=500\times 10^{-6} \ m^3\] \[P_1=2\times 10^6 \ Pa \] \[P_2=1.1\times 10^7=11\times 10^6 \ Pa\] \[V=15 \ V\] \[t=100 \ s\] กำลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนไปเป็น พลังงานความร้อน ของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยว ทำให้ภาชนะขยายตัว \[Pt\rightarrow \Delta Q\rightarrow \Delta U\rightarrow \Delta W \] \[Pt={3\over 2}(P_2-P_1)V\] \[P\times 100={3\over 2}(11\times 10^6-2\times 10^6)(500\times 10^{-6})\] \[100P={3\over 2}(9\times 10^6)(500\times 10^{-6})\] \[100P=27\times 250\] \[P={27\times 250\over 100} \ \ W \] ความสัมพันธ์ ของ กำลังไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้า และ ความต้านทาน \[P={V^2\over R}\] \[{{27\times 250}\over 100}={15^2\over R}\] \[{{27\times 250}\over 100}={{15\times 15}\over R}\] \[R={{15\times 15 \times 100} \over {27\times 250}}\] \[R={{5\times 5\times 10}\over {3\times 25}}\] \[R={10\over 3} \ \ \Omega \]
ทวนความรู้:
ถ้าเป็นก๊าซอุดมคติ อะตอมคู่ แทน
\[{3\over 2}\rightarrow {5\over 2}\]
ใส่น้ำลงในภาชนะ ทรงกระบอกใบหนึ่ง ให้มีระดับความสูง จากก้นภาชนะ \( \ 10 \ \ cm \ \) พบว่าเกิดการสั่นพ้อง กับส้อมเสียงอันหนึ่ง และเมื่อเติมน้ำลงไป จนมีระดับความสูงเป็น \( \ 44 \ \ cm \ \) จะเกิดการสั่นพ้อง กับส้อมเสียงเดิม อีกครั้ง แต่ถ้าระดับน้ำสูงกว่านั้น จะไม่เกิดการสั่นพ้องอีก ถ้าอัตราเร็วของเสียง ในอากาศขณะนั้น เท่ากับ \( \ 340 \ \ m/s \ \) ความถี่ส้อมเสียงมีค่าเป็นเท่าใด
พิจารณาข้อมูล การเติมน้ำ แล้วเกิดเสียงสั่นพ้อง อีกครั้ง มาจาก ระดับน้ำที่เพิ่ม ซึ่งจะเท่ากับ ครึ่งหนึ่ง ความยาวคลื่น พอดี \[\Delta x={\lambda\over 2}\] ดังนั้น \[{{44-10}\over 100}={\lambda\over 2}\] \[{34\over 100}={\lambda\over 2}\] \[\lambda = {68\over 100}\] \[\lambda= 0.68 \ \ m\] ความถี่เสียง จากความสัมพันธ์ \[v=\lambda f\] \[340=0.68f\] \[f={340\over 0.68}\] \[f={34000\over 68}\] \[f={1000\over 2}\] \[f=500 \ \ Hz\]
ทวนความรู้:
ถ้าเติมระดับน้ำ เป็น \(\ \Delta x \ \) แล้ว เกิดเสียงสั่นพ้อง \(\ \ n \ \) ครั้ง จะได้ความสัมพันธ์ กับ ความยาวคลื่นเสียง ในอากาศ
\[\Delta x={{n\lambda}\over 2}\]
บุคคลหนึ่งมีระยะเลนส์ตาถึงเรตินา \(\ 2.0 \ cm \ \) และ มองชัดได้ไม่ไกลกว่า \(\ 200 \ cm \ \) เขาจะต้องใช้แว่นตา ที่ทำจากเลนส์ ชนิดใด ความยาวโฟกัส เท่าใด จึงจะมองเห็น ได้เหมือนคนสายตาปกติ
พิจารณาข้อมูล บุคคลผู้นี้ มองชัดได้ไม่ไกลกว่า \(\ 200 \ cm \ \) แสดงว่า เป็นคนสายตาสั้น \[s_e=200 \ cm\] ความยาวโฟกัส แว่นสายตาสั้น ทำจากเลนส์เว้า \[f=-s_e\] \[f=-200 \ cm \]
ทวนความรู้:
บุคคล | แว่นตาทำจาก | ระยะวัตถุ | ก่อนใส่แว่น |
สายตาสั้น | เลนส์เว้า | \(s=\infty\) | \(s_e=\)ระยะไกลชัดสุด |
สายตายาว | เลนส์นูน | \(s=25 \ cm \) | \(s_e=\)ระยะใกล้ชัดสุด |
ความยาวโฟกัส แว่นสายตาสั้น ทำจากเลนส์เว้า \[f=-s_e\] ความยาวโฟกัส แว่นสายตายาว ทำจากเลนส์นูน \[f={25s_e\over {s_e-25}}\]
ตัวต้านทานที่มี ความต้านทาน \( \ R \ \) กับตัวเก็บประจุ ที่มีความจุเป็น \( \ C \ \) ต่ออนุกรมกัน อยู่กับแหล่งกำเนิด ไฟฟ้ากระแสสลับ ความถี่เชิงมุม \( \ \omega\ \) ถ้าความต่างศักย์ ที่คร่อมตัวเก็บประจุ ที่เวลา \( \ t \ \) ใด ๆ มีค่าเป็น \( \ {{I_0\over {\omega C}} \sin \omega t} \ \) จงหาศักย์ไฟฟ้าที่จุด \( \ A \ \)
พิจารณาข้อมูล \[X_C={1\over {\omega C}}\] \[V_C={{I_0\over {\omega C}} \sin \omega t}\] กระแสสลับ ที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุ \[V_C=I_CX_C\] \[{{I_0\over {\omega C}} \sin \omega t}=I_C\times {1\over {\omega C}}\] \[I_C={{I_0\omega C}\over{\omega C}}\sin \omega t\] \[I_C=I_0\sin \omega t\] วงจรกระแสสลับ \( \ RC \ \) เฟสของตัวเก็บประจุ ตามหลัง \( \ R \ \) อยู่ \( \ 90^\circ \ \) หรือ เท่ากับ \({ \ \pi \over 2} \ \) เรเดียน ดังนั้น \[I_R=I_0\sin ( \omega t + {\phi\over 2})\] ศักย์ไฟฟ้าที่จุด \( \ A \ \) เท่ากับ ศักย์ไฟฟ้าที่ ตกคร่อมตัวต้านทาน \( \ R \ \) \[V_R=I_R R\] \[V_A=I_0\sin ( \omega t + {\pi\over 2})\times R\] \[V_A=I_0R\sin ( \omega t + {\pi\over 2})\]
นิวเคลียส กัมมันตรังสีชนิด \( \ A \ \) มีจำนวนตั้งต้น เป็น \( \ 10 \ \) เท่า ของจำนวนนิวเคลียส กัมมันตรังสีชนิด \( \ B \ \) โดยที่ \( \ A \ \) มีเวลาครึ่งชีวิตเป็น \( \ T \ \) และ \( \ B \ \) มีเวลาครึ่งชีวิตเป็น \( \ 2T \ \) อีกนานเท่าใด จำนวนนิวเคลียส ของกัมนัมตรังสี \( \ A \ \) จึง จะเท่ากับกัมมันตรังสี \( \ B \ \) พอดี
พิจารณาข้อมูล \[N_{0A}=10N_{0B}\] \[T_{{1\over 2} A}=T\] \[T_{{1\over 2} B}=2T\] \[N_A=N_B\] จากสมการ การสลายกัมมันตรังสีใด ๆ \[N=N_02^{-{t\over {T_{1\over 2}}}}\] \[\log_2{N\over N_0}=-{t\over {T_{1\over 2}}}\] \[\log_2{N_0\over N}={t\over {T_{1\over 2}}}\] กัมมันตรังสี ชนิด \( \ A \ \) \[\log_2{{10N_{0B}}\over N_A}={t\over {T}} \ \ \ ... (1)\] กัมมันตรังสี ชนิด \( \ B \ \) \[\log_2{N_{{0B}}\over N_A}={t\over {2T}} \ \ \ ... (2)\] สมการ (1)-(2) ได้ \[\log_2{({{10N_{0B}}\over N_A}\times {N_A\over {N_{0B}}})}={t\over {T}}-{t\over {2T}} \] \[\log_2{10}={{2t-t}\over {2T}}\] \[\log_2{10}={t\over {2T}}\] \[t=2T\log_2 {10} \] \[t=(2log_2{10})T\]
ทวนความรู้:
\[\log A-\log B =\log {A\over B}\]
คลื่นนิ่งในเส้นเชือก มีความยาวคลื่น เป็น \( \ 24 \ cm \ \) จุดจุดหนึ่งบนเส้นเชือก ใช้เวลา \( \ 0.002 \ s \ \) ในการเปลี่ยนจาก ตำแหน่งสมดุล ไปยังตำแหน่ง ที่สูงเป็นระยะ ครึ่งหนึ่ง เมื่อวัดจาก จุดสมดุล จงหา อัตราเร็ว ของคลื่น ในเส้นเชือกนี้
พิจารณาข้อมูล \[\lambda = 24 \ cm = 0.24 \ m \] \[t=0.002 \ \ s \] \[y={A\over 2} \ \ m\] สมการ การขจัดคลื่น \[y=A\sin (\omega t)\] \[{A\over 2}=A\sin (\omega \times 0.002)\] \[{1\over 2}=\sin (0.002\omega)\] \[\sin {\pi\over 6}=\sin (0.002\omega)\] \[0.002\omega={\pi\over 6}\] \[\omega ={\pi\over 0.012}\] \[2\pi f ={\pi\over 0.012}\] \[f ={1\over 0.024} \ \ Hz\] ความเร็วคลื่น \[v=\lambda f\] \[v=0.24 \times {1\over 0.024} \] \[v={240 \over 24} \] \[v=10 \ \ m/s \]
ทวนความรู้:
มุมของ cosine จะมีหน่วยเป็น เรเดียน เสมอ แทนที่จะใช้
\[{1\over 2}=\sin 30^\circ\]
ต้องแทนด้วย
\[{1\over 2}=\sin {\pi\over 6}\]
อิเล็กตรอนในอะตอมไฮโดรเจน ตามแบบจำลองอะตอมของโบร์ มีการเปลี่ยนระดับพลังงาน จากชั้น \( \ n=2 \ \) ไปยังชั้น \( \ n=1 \ \) พลังงานศักย์ไฟฟ้า (ไม่ใช่พลังงานทั้งหมด) ของอิเล็กตรอนนี้ เปลี่ยนไปเท่าใด
พิจารณาข้อมูล \[E_n=-{13.6\over n^2}\] \[E_1=-{13.6\over 1^2}\] \[E_1=-13.6 \ \ \ eV\] \[E_2=-{13.6\over 2^2}\] \[E_2=-{13.6\over 4}\] \[E_2=-3.4 \ \ \ eV\] พลังงานจลน์ จากการเปลี่ยนระดับพลังงาน \[E_k=E_2-E_1\] \[E_k=-3.4-(-13.6)\] \[E_k=-3.4+13.6\] \[E_k=10.2 \ \ \ eV \] พลังงานศักย์ไฟฟ้า \[E_p=2E_k\] \[E_p=2\times 10.2\] \[E_p=20.4 \ \ \ eV \]
ทวนความรู้:
การที่อิเล็กตรอน โคจรรอบนิวเคลียสอยู่ได้ เพราะมีแรงดึงดูด ระหว่าง อิเล็กตรอน กับ นิวเคลียส เป็น แรงหนีศูนย์กลาง เท่ากับ แรงคูลอมบ์
\[{{mv^2}\over R}={{kq_eq_p}\over R^2}\]
\[{{mv^2}}={{kq_eq_p}\over R}\]
\[{1\over 2}\times {{mv^2}}={1\over 2}\times {{kq_eq_p}\over R}\]
\[E_k={1\over 2}E_p\]
ดังนั้น
\[E_p=2E_k\]
เมื่อ \( \ E_k \ \) คือ พลังงานจลน์ ที่ใช้ ในการเปลี่ยน ระดับพลังงาน
\[E_k=E_{n_i\rightarrow n_f}=E_{n_i}-E_{n_f}\]
ข้อใดต่อไปนี้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับการถนอมอาหาร
ก. รังสีคอสมิก
ข. รังสีแกมมา
ค. รังสีอินฟราเรด
ง. แสงที่ตาคนมองเห็น
จ. แสงอัลตราไวโอเลต
ตอบข้อ ข. ใช้วิธีการฉายรังสีแกมมา ที่มีพลังงานสูง เพื่อ เข้าไปทำลาย เซลล์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในอาหาร ให้ตาย โดยที่ ไม่กระทบ กระเทือนต่ออาหาร
เมื่อวางเลนส์อันหนึ่ง ห่างจากวัตถุเป็นระยะ \( \ x \ \) พบว่าเกิดภาพจริง ขนาดขยายเป็น 6 เท่า ถ้าลดระยะวัตถุลงเหลือ \( \ {x\over 2} \ \) จะทำให้เกิดภาพชนิดใด และมีขนาด เป็นกี่เท่าของขนาดวัตถุ
พิจารณาข้อมูล \[m=-{s'\over s}\] เกิดภาพจริง ขนาดขยายเป็น 6 เท่า แสดงว่า เป็นเลนส์นูน \[-6=-{s'\over x}\] \[s'=6x\] สมการเลนส์ \[{1\over s}+{1\over {s'}}={1\over f}\] \[{1\over x}+{1\over {6x}}={1\over f}\] \[{{6+1}\over {6x}}={1\over f}\] \[{{7}\over {6x}}={1\over f}\] \[f={6x\over 7}\] ถ้าลดระยะวัตถุลงเหลือ \( \ s={x\over 2} \ \) \[{1\over s}+{1\over {s'}}={1\over f}\] \[{2\over x}+{1\over {s'}}={7\over {6x}}\] \[{1\over {s'}}={7\over {6x}}-{2\over x}\] \[{1\over {s'}}={{7-12}\over {6x}}\] \[{1\over {s'}}={{-5}\over {6x}}\] \[s'=-{{6x}\over 5}\] กำลังขยาย \[m=-(-{{6x}\over 5})\times {2\over x}\] \[m={12\over 5}\] เกิดภาพเสมือน หัวตั้งขนาด \( \ {12\over 5} \ \) เท่าของขนาดวัตถุ
ทวนความรู้:
สมการเลนส์
\[{1\over s}+{1\over s'}={1\over f}\]
กำลังขยายเลนส์
\[m=-{s'\over s}={h'\over h}\]
คุณสมบัติ | เลนส์นูน | เลนส์เว้า |
ความยาวโฟกัส | \(f (+) \) | \(f (-) \) |
ระยะวัตถุ | \(s (+) \) | \(s (+) \) |
ภาพจริง | \(s' (+) \), หลังเลนส์ | ไม่เกิด |
ภาพเสมือน | \(s' (-) \), หน้าเลนส์ | \(s' (-) \), หน้าเลนส์ |
ภาพขนาดใหญ่ | \(s' (\pm ) \) | ไม่เกิด |
ภาพขนาดเล็ก | ไม่เกิด | \(s' (-) \) |
ภาพหัวตั้ง | \(m (+),s'(-),h'(+) \) | \(m (+),s'(-),h'(+) \) |
ภาพหัวกลับ | \(m (-), \ s'(+), \ h'(-) \) | ไม่เกิด |
อนุภาคหนึ่งเริ่มเคลื่อนที่ ที่เวลา \( \ t=0 \ \) ในแนวเส้นตรง โดยมีความเร็ว ที่เวลาใด ๆ เป็น ดังกราฟด้านล่าง จงหาเวลาที่ อนุภาคนี้ ย้อนกลับมาที่เดิม
พิจารณาข้อมูล จากกราฟ ให้ อนุภาคมี ด้วยความเร็วต้น \( \ -u \ \) และ หาความเร่งจาก ความชันกราฟ \( \ v-t \ \) \[a={{v-u}\over t}\] \[a={{0-(-u)}\over T}\] \[a={u\over T}\] อนุภาค ย้อนกลับมาที่เดิม การขจัดเป็นศูนย์ \[s=ut+{1\over 2}at^2\] \[0=(-u)t+{1\over 2}\times {u\over T}\times t^2\] \[ut={1\over 2}{{ut^2}\over T}\] \[1={1\over 2}{{t}\over T}\] \[t=2T\]
ข้อสังเกตุ: จากกราฟ \( \ T \ \) คือ เวลาใช้เคลื่อนที่ ถึงจุดวกกลับ เมื่อ กลับมาที่เดิม ใช้เวลา \( \ T \ \) ด้วย ดังนั้น เวลาที่ อนุภาคนี้ ย้อนกลับมาที่เดิม เท่ากับ \( \ 2T \ \)
มวล \(M\) และ \(m\) วางบนพื้นลื่น ผูกติดกันด้วยเชือกเบาดังรูป ถ้าแรงลัพธ์ที่ กระทำต่อมวล \(M\) มีขนาดเท่ากับ \({M\over{M+m}}F\) แรงดึง \(F'\) มีขนาดเท่าใด?
พิจารณาข้อมูล: จากกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน \(\Sigma F=ma\) แรงลัพธ์กระทำต่อมวล \(M\) จะได้ \[{M\over{M+m}}F=Ma\] \[a={F\over{M+m}}\] ดังนั้น แรง \(F'\) ดึงมวลทั้งระบบ \[F'=(M+m)\times {F\over{M+m}}\] \[F'=F\]
\(A \ \) และ \(B \ \) เป็นรอกเบาหมุนได้คล่อง รอก \(A \ \) ยึดติดกับเพดาน ส่วนรอก \(B \ \) เคลื่อนที่ขึ้นลงได้ และมีมวล \({m\over 2}\ \) ผูกอยู่ คล้องรอกทั้งคู่ด้วยเชือกเบา โดยปลายเชือกผูกติดกับมวล \(m \ \) อีกก้อนดังรูป จงหาแรงตึงในเส้นเชือก \(T \ \) ดังรูป?
พิจารณาข้อมูล: จากกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน
\(\Sigma F=ma\) มวล \(m \ \) เคลื่อนที่ลง มวล \({m\over 2}\ \) เคลื่อนที่ขึ้น ให้ความเร่งของเส้นเชือกล่างเท่ากับ \(a \ \) ดังนั้น เส้นเชือก \(T \ \) มีความเร่งเท่ากับ \(2a \ \) จะได้
มวล \({m\over 2}\ \) ถูกแรงในเส้นเชือกเท่ากับ \(2T \ \) ดึงขึ้นด้วยความเร่ง \(a \ \):
\[2T-({m\over 2})g=({m\over 2})a\]
\[4T-mg=ma \ \ \ ... (1)\]
มวล \(m \ \) เคลื่อนที่ลงด้วยความเร่ง \(2a \ \):
\[mg-T=m(2a)\]
\[mg-T=2ma \ \ \ ... (2)\]
นำ \(2\times (1) \ \) ได้
\[8T-2mg=2ma \ \ \ ... (3)\]
สมการ \((2)=(3)\)
\[mg-T=8T-2mg\]
\[3mg=9T\]
\[T={{3mg}\over 9}\]
\[T={1\over 3}mg\]
มวล \(m \ \) อยู่นิ่งด้านหน้าสปริง ซึ่งมีค่าคงที่สปริง \(k \ \) ด้านหลังของสปริงติดกับกำแพง จากนั้นมวล \(M \ \) เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว \(u \ \) เข้าชนติดกับมวล \(m \ \) สปริงจะหดเข้าไปได้มากที่สุด เป็นระยะทางเท่าใด?
พิจารณาข้อมูล: หาความเร็วหลังชน จาก กฏอนุรักษ์โมเมนตัม
\[Mu=(M+m)v\]
\[v={{Mu}\over {M+m}} \ \ \ ... (1)\]
พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว \(v \ \) เปลี่ยนเป็นพลังงานสะสมในสะปริง จากกฏอนุรักษ์พลังงาน
\[{1\over 2}(M+m)v^2={1\over 2}ks^2\]
แทน (1) ได้
\[{1\over 2}(M+m)({{Mu}\over {M+m}})^2={1\over 2}ks^2\]
\[{{(Mu)}^2\over {M+m}}=ks^2\]
\[s^2={{(Mu)}^2\over {k(M+m)}}\]
\[s=\sqrt{{{M^2u^2}\over {k(M+m)}}}\]
โปรตอน \(A \ \) และ \(B \ \) มีมวล \(m \ \) ประจุ \(e \ \) อยู่ห่างกันมาก โปรตอน \(A \ \) เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต้นขนาด \(u \ \) เข้าชนโปรตอน \(B \ \) ซึ่งมีความเร็วต้นขนาด \({u\over 2} \ \) ขณะที่อนุภาคทั้งสองเข้าใกล้กันมากที่สุด ความเร็วของโปรตรอน \(A\ \)จะมีค่าเท่าใด?
พิจารณาข้อมูล: สมมมุติ ขณะที่อนุภาคทั้งสองเข้าใกล้กันมากที่สุด โปรตอน \(A \ \) มีความเร็ว \(v_1 \ \) ไปทางขวา และ โปรตอน \(B \ \) มีความเร็ว \(v_2 \ \) ไปทางขวาด้วย จากสมการการชน
\[mu+m({u\over 2})=mv_1+mv_2\]
\[u+{u\over 2}=v_1+v_2\]
\[v_1+v_2={3\over 2}u \ \ \ ... (1)\]
จากความสัมพันธ์ของ ความเร็วสัมพัทธ์
\[u+v_1={1\over 2}u+v_2\]
\[v_1-v_2={1\over 2}u-u\]
\[v_1-v_2=-{1\over 2}u \ \ \ ... (2)\]
นำสมการ (1) + (2) ได้
\[2v_1={3\over 2}u-{1\over 2}u\]
\[2v_1={{3-1}\over 2}u\]
\[2v_1={2\over 2}u\]
\[2v_1=u\]
\[v_1={u\over 2}\]
รางส่วนโค้งของวงกลมผิวลื่น \(AB\ \) จุด \(A\ \) อยู่ในระดับเดียวกับจุด \(O\ \) ถ้าที่จุด \(A\ \) มวล \(m\ \) มีความเร็วในแนวดิ่ง แนวการเคลื่อนที่ของมวล \(m\ \) เมื่อหลุดจากโค้งในข้อใดที่เป็นไปได้?
พิจารณาข้อมูล: ให้รางวงกลมมีรัศมี \(R\ \) เมตร หาความเร็วหลังจาก ปล่อยลูกลมหลุดออกจากราง ณ ตำแหน่ง \(B\ \) จากกฏอนุรักษ์พลังงาน
\[E_A=E_B\]
\[mg(R\cos 45^{\circ}) ={1\over 2}mv^2\]
\[gR({\sqrt{2}\over 2}) ={1\over 2}v^2\]
\[v^2=\sqrt{2}gR \ \ \ ... (1)\]
หลังจากหลุดจากจุด \(B \ \) วัตถุเคลื่อนที่แบบโพเจกไทล์ หาระยะเคลื่อนที่ได้สูงสุด จากสมการ
\[h={{(u\sin 45^{\circ})^2} \over {2g}}\]
\[h={{u^2({1\over {\sqrt2}})^2} \over {2g}}\]
\[h={{u^2}\over {4g}}\]
แทน \(v^2 \ \) จากสมการ (1) ได้
\[h={{\sqrt{2}gR}\over {4g}}\]
\[h={1\over 2}({{\sqrt{2}} \over 2})R\]
\[h={1\over 2}R\cos 45^{\circ}\]
ดังนั้น ลูกกลมจะขึ้นได้สูงสุด เป็นระยะครึ่งหนึ่งในแนว \(BO\) คำตอบ คือ ข้อ 2.